Category: Journal

  • Creative Learning 1

    Categories:
    Creative Learning 1

    🎨 Creative Learning (1) บทความโดย ครูแมงปอ ยังจำโรงเรียนอนุบาลแรกกันได้ไหมคะ? หากนึกย้อนกลับไป สิบ ยี่สิบ สามสิบปี…ภาพโรงเรียนอนุบาลช่างลางเลือนเหลือเกินในความทรงจำของเรา…แต่ในความเป็นจริงแล้วที่นั่นคือสถานที่ที่มีความทรงจำแรก ประสบการณ์ครั้งแรก แทบจะเป็นศูนย์รวมการทำสิ่งต่าง ๆ ครั้งแรกในวัยเด็กนอกเหนือจากที่บ้านเลยนะคะ😊 “Lifelong Kindergarten; Cultivating Creativity through Projects, Passion, Peers, and Play” ช่วงนี้แมงปอกับพลับสนใจเรื่องการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ค่ะ พลับได้แนะนำหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “Lifelong Kindergarten; Cultivating Creativity through Projects, Passion, Peers, and Play” เขียนโดย Dr. Mitchel Resnick ซึ่งเป็นอาจารย์ของพลับที่ MIT สารภาพเลยนะคะว่าตอนแรกที่พลับแนะนำ แมงปอก็นึกว่าเป็นเรื่องโรงเรียนอนุบาลเลยไม่ค่อยอยากจะหยิบมาอ่านเท่าไร แต่พอได้มาอ่านแล้วพบว่าสิ่งที่เขาเขียนเป็นการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกช่วงวัยเลยล่ะค่ะ สิ่งที่น่าสนใจคือแนวคิดแรกเริ่มของ Dr. Mitchel ที่พูดถึงการตั้งโรงเรียนอนุบาลครั้งแรกในปี 1837 ที่เยอรมันโดย Friedrich Froebel ที่เปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการศึกษา ก่อนหน้าโรงเรียนอนุบาลแรกนั้น…

    Read more


  • Creative Learning 2

    Categories:
    Creative Learning 2

    🎨 The Creative Learning Spiral; การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (2) บทความโดย ครูแมงปอภาพประกอบของ Dr. Mitchel Resnick วาดโดย ครูแมงปอ การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ช่วงอนุบาลหรืออาจจะก่อนหน้านั้นก็ได้นะคะ ลองนึกถึงเวลาเด็ก ๆ ปั้นดินน้ำมัน พวกเขาจะนั่งอยู่เป็นเวลานาน ค่อย ๆ ปั้นให้เป็นรูปร่าง ต่อเติมไปทีละชิ้นทีละชิ้น แต่ละคนก็เล่าเรื่องราวแต่งแต้มสีสันให้กับชิ้นงาน หากมันพังลงมาก็ค่อย ๆ ต่อมันขึ้นมาใหม่ ในแต่ละครั้งที่ทำเด็ก ๆ จะพัฒนาทักษะและความสามารถไปพร้อมกัน การเล่นส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในมือ จินตนาการ การสื่อสารและใช้ภาษาเล่าเรื่อง ฯลฯ กระบวนการสร้างสรรค์หรือ creative process ก็เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติระหว่างการเล่นของเด็ก ๆ เหมือนกันค่ะ Dr. Mitchel Resnick ได้สังเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ขึ้นมา เรียกว่า Creative Learning Spiral ซึ่งในกระบวนการนี้ประกอบไปด้วย Imagine: จินตนาการ ยกตัวอย่างเช่น เด็กเริ่มต้นจินตนาการถึงปราสาทเจ้าหญิง…

    Read more


  • เรียนออกแบบ 3DPrinter X Nature

    Categories:
    เรียนออกแบบ 3DPrinter X Nature

    🤖3DPrinter X Nature🌳 “มาเรียนออกแบบของเล่นเพื่อออกผจญภัยในธรรมชาติกัน!” บทความโดยครูปั๊ม จากประสบการณ์กว่า 10 ปี ที่ผมได้ออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ผ่านการออกแบบและการประดิษฐ์ เพื่อเด็กๆ ตั้งแต่รุ่นอายุ 6 ปีเป็นต้นไป ในหลายครั้งผลงานชั้นเยี่ยมของเด็กๆหลายคนมักสิ้นสุดอยู่เพียงในห้อง FABLAB เนื่องด้วยสถานที่ตั้งห้อง LAB หลายที่จะตั้งอยู่ในอาคารสูง หรือ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองใหญ่ ทำให้มีข้อจำกัดหลายประการที่เด็กๆจะสามารถนำผลงานออกแบบของตนเองออกมาเล่นและทดลองได้อย่างเต็มที่ จากโอกาสที่ได้สอนและพาเด็กๆออกผจญภัยในค่ายใต้ต้นไม้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมได้เห็นจินตนาการของเด็กๆพรั่งพรูออกมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อพวกเขาได้เล่นในธรรมชาติอย่างเต็มที่ จินตนาการนั้นมักเกิดจากสถานการณ์จริงที่พวกเขาต้องคิดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า อย่างเช่นการเป็นการพยายามเก็บสมบัติที่อยู่ไกลเกินเอื้อม จึงต้องช่วยกันออกแบบ เครื่องมือพิเศษสำหรับภารกิจตรงหน้าเท่านั้น ! Design Thinking พื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้กระบวนการออกแบบในวัยเยาว์คือ Design Thinking ที่มีการประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย จากงานวิจัยหลายฉบับส่วนที่สำคัญที่สุดในกระบวนการคือการได้ทดลองเพื่อหาข้อผิดพลาด แก้ไข และทำซ้ำ จนเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ในหลายกรณีที่งานออกแบบนั้นต้องสิ้นสุดอยู่ในห้อง LAB จะพลาดโอกาสเรียนรู้ส่วนที่สำคัญไปอย่างน่าเสียดาย จึงได้เกิดไอเดียที่จะผสานทั้งการเรียนรู้ผ่าน Technology และ การเล่นในธรรมชาติเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นหลักสูตรการผจญภัยใหม่ที่จะเกิดขึ้นเฉพาะที่ค่ายใต้ต้นไม้! Empathize Define and Then Ideate! ขั้นตอนแรกของการออกแบบแน่นอนคือการวางแผน ไอเดียที่ดีมักเกิดจากประสบการณ์จริงที่เด็กๆเคยได้ผ่านมา ยกตัวอย่างในกรณีชิ้นงานนี้ ผู้ออกแบบคือน้องนอร์ธนักผจญภัยผู้เชี่ยวชาญที่ค่ายใต้ต้นไม้…

    Read more


  • เรียนเขียนโค้ด RPG Game Maker x Coding

    🤖RPG Game Maker x Coding มาลองเรียนเขียนโค้ดกัน! “ความลับของ Coding ในการสร้างเกมส์ผจญภัยแสนสนุก!” บทความโดยครูปั๊ม Coding ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะแห่งอนาคต ซึ่งมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆในกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ ทั้งในด้านของพัฒนาการด้านตรรกะผ่านการวางแผนลำดับขั้นตอนในการ Code หรือทักษะด้านภาษาการเขียนการอ่านตัวอักษรที่ใช้ในการ Code หากแต่ในบางกรณีสำหรับเด็กๆในช่วงวัย 6-10 ปี การ Code อาจดูซับซ้อนและไม่เห็นความเชื่อมโยงของผลลัพท์อย่างเป็นรูปธรรม อย่างเช่นการ Code เพื่อเคลื่อนไหวตัวละคร, การ Code เพื่อผ่านภารกิจต่างๆที่ Software ได้ออกแบบมาแล้ว คุณครูจึงได้เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้และพยายามค้นหาเครื่องมือที่จะช่วยให้เด็กๆสามารถพัฒนาทักษะ Coding ควบคู่ไปกับการเล่นอย่างสนุกสนาน การเล่นที่อยู่ควบคู่กับเด็กๆมาเป็นเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ยุคบุกเบิกของ Computer ก็คือ Games ซึ่งยังคงเป็นที่ถกเถียง ถึงข้อดีและข้อเสียจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีเบื้องหลังเกมส์ที่เด็กๆเล่นนั้นล้วนแต่มีแผงข้อมูลจากการ Coding เพื่อร้อยเรียงออกมาเป็นเรื่องราวการผจญภัยแสนสนุก RPG Playground เป็น Online Software ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเด็กๆและผู้เริ่มต้นโดยเฉพาะ โดยเด็กๆสามารถสร้างโลกในจินตนาการได้อย่างง่ายดายเพียงลากและวางชิ้นส่วนจากเครื่องมือที่เพียบพร้อม เด็กๆสามารถสร้างการผจญภัยในดินแดนของตนเองได้อย่างไม่มีข้อจำกัด โดยไม่มีการเขียน Code เข้ามาเกี่ยวข้องเลยในระดับแรก เมื่อโลกในจินตนาการของพวกเขาสมบูรณ์แล้ว…

    Read more


  • การเล่นเพื่อพัฒนาการคิดเชิงสร้างสรรค์

    ✨การเล่นเพื่อพัฒนาการคิดเชิงสร้างสรรค์ บทความโดย ครูพลับ พลับเคยได้เรียนกับอาจารย์ที่คิดค้นเกมและสื่อการเรียนรู้สนุก ๆ ให้เด็กสองท่านจาก MIT ค่ะ ซึ่งทำให้ได้อ่านงานวิจัยเกี่ยวกับ “การเล่น” ค่อนข้างเยอะ เลยอยากจะเขียนเล่าถึงความคิดที่อาจารย์ใช้ในการออกแบบ เพื่อเป็นกรอบคิดสำหรับผู้ปกครองในการเลือกซื้อของเล่น เกม หรือเลือกลงกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ ค่ะ การเล่นของเด็ก ๆ มีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบต่างก็มีประโยชน์ต่างกันและนำไปสู่การเรียนรู้ที่ต่างกัน แต่การเรียนรู้ผ่านการเล่นที่พลับและอาจารย์สนใจ คือการเล่นแบบที่พัฒนาเด็ก ๆ ให้ได้กลายเป็น creative thinker หรือ เด็กที่คิดได้อย่างสร้างสรรค์ค่ะ เพื่อนของอาจารย์พลับ ชื่อ Dr. Marina Bers จาก Tufts University (ท่านมีแลปวิจัยด้านพัฒนาการเด็กผ่านเทคโนโลยีและของเล่น) เสนอว่า เราสามารถแยกการเล่นของเด็ก ๆ ออกได้เป็น 2 ประเภท เป็นแบบ playpen หรือแบบ playground การเล่นแบบ playground หรือการเล่นแบบอิสระ มีการออกแบบเพื่อขยายประสบการณ์ของเด็ก ได้สำรวจและสร้างอะไรก็ได้ที่เด็ก ๆ อยากทำ ซึ่งการเล่นแบบนี้…

    Read more


  • ออกแบบเกมเล่นที่บ้าน

    🎨 จะออกแบบเกม/การเล่นที่บ้านยังไงดี ? 😊 บทความโดย ครูแมงปอ ในเวลาที่ต้องอยู่บ้านนาน ๆ คงไม่มีอะไรสนุกไปกว่าการสร้างเกมสำหรับเล่นในครอบครัวแล้วล่ะค่ะ การมีเกมเล็ก ๆ ที่เป็นเสมือนธรรมเนียมของแต่ละบ้านช่วยให้เด็ก ๆ รับรู้ได้ถึงสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สร้างความไว้วางใจ ความเชื่อใจ การแสดงออกถึงความเป็นตัวเอง เสริมสร้างพัฒนาการและการใช้ภาษาในการสื่อสารด้วยนะคะ ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้เล่นสนุกขึ้นดี บทความนี้มีคำตอบค่ะ การออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ให้สนุกในเชิงจิตวิทยานั้น เราสามารถเพิ่มองค์ประกอบได้สองอย่าง คือ ⌛ 1. เงื่อนไขด้านเวลา (Timer) การออกแบบการเล่นหรือเกม ผู้ปกครองสามารถเลือกได้ว่า จะเป็นเกมที่เล่นแล้วรู้สึกผ่อนคลายหรือเล่นแล้วรู้สึกตื่นเต้นได้ด้วยเงื่อนไขด้านเวลา ถ้าไม่มีการจับเวลา ค่อย ๆ เล่นโดยการตอบคำถามหรือแก้ไขปัญหาไปทีละส่วน เหมาะจะเป็นเกมที่เล่นไปด้วยกันในครอบครัวเวลาพักผ่อนหรือก่อนนอน สร้างความรู้สึกสงบและพร้อมที่จะเตรียมตัวนอนให้กับเด็ก ๆ ในขณะที่เกมที่มีการจับเวลา สร้างความตื่นเต้นและต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว เหมาะกับจะเล่นในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนเริ่มบทเรียน สร้างความกระตือรือร้นและความพร้อมในการทำกิจกรรม แต่ถ้าเอาไปเล่นตอนก่อนนอนแล้ว เชื่อได้เลยว่าเด็ก ๆ จะตื่นเต็มตาและร้องขอเล่นต่อไม่ยอมนอนเลยล่ะค่ะ 🙂 🏆 2. การให้รางวัล (Rewards) เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขของ B.F. Skinner ซึ่งสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้รูปแบบต่าง…

    Read more


  • ฝึกออกแบบ Benefits of Household 3D Printer

    🦾Benefits of Household 3D Printer ประโยชน์ของการฝึกออกแบบด้วยเครื่อง 3D Printer ในช่วงเวลาที่การเดินทางออกไปข้างนอกมีข้อจำกัดในหลายด้าน คงเลี่ยงไม่ได้ที่เด็กๆในวัยเรียนรู้ต้องใช้เวลาส่วนมากของพวกเขาอยู่ภายในบ้าน หนึ่งรูปแบบการเรียนรู้ที่เห็นว่าจะมีประสิทธิภาพอย่างมากคือการเรียนรู้ผ่าน Technology ซึ่งไม่ถูกจำกัดโดยขนาดและรูปแบบของพื้นที่แต่อย่างใด แต่คงปฏิเสธเสียไม่ได้ว่าสำหรับเด็กเล็กในช่วง อนุบาล – ปฐมวัย การได้เรียนรู้ด้วยของเล่นกายภาพ จะมีส่วนช่วยในด้านพัฒนาการของน้องๆเป็นอย่างมาก ในบทความนี้ผมจึงอยากจะแนะนำคุณพ่อคุณแม่ถึงหนึ่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถประติดประต่อโลกของเทคโนโลยีและโลกของความเป็นจริง ได้อย่างราบรื่น ถ้าพูดถึง 3D Printer หลายท่านอาจยังมองว่าเป็นสิ่งไกลตัว หากแต่จริงๆแล้วในปัจจุบันหลายบริษัทได้มีการพัฒนาเครื่อง 3D Printer รุ่นเริ่มต้นที่สามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย และมีราคาที่ไม่สูงนัก จึงทำให้เริ่มมีการนำมาใช้ส่วนตัวภายในบ้านมากขึ้น เด็กๆจะได้เรียนรู้อะไรจากการใช้งานเครื่อง 3D Printer? มาถึงจุดนี้หลายท่านคงเริ่มสงสัยว่าเด็กๆจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างไรจากเครื่องจักรชิ้นนี้ หัวใจสำคัญที่สุดในการสร้างสิ่งต่างๆด้วยเครื่อง 3D Printer นั้นคือการออกแบบ File 3 มิติ ซึ่งหากจินตนาการแล้วอาจดูซับซ้อนเกินไปสำหรับน้องๆ แต่ในปัจจุบันมี software มากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เด็กๆสามารถเรียนรู้การสร้าง File 3 มิติ ได้ตรงตามพัฒนาการในช่วงวัยของพวกเขา คุณพ่อคุณแม่สามารถลองค้นหา และ Download มาทดลองใช้เพื่อสอนน้องๆสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่บ้านได้อย่างไม่ยากเย็นเลยครับ สำหรับประโยชน์ที่เด็กๆจะได้เรียนรู้จากการใช้…

    Read more